ศรีกรุงโบรกเกอร์ ประกันภัย พัทธมิตร ศูนย์บริการครบวงจร NP Group Service
พรบ.คือการ ประกันภัย รถยนต์ภาคบังคับ ซึ่งกฎหมายบังคับใช้ให้รถทุกคันจำเป็นต้องทำประกันพรบคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พศ 2535 โดยกฎหมายกำหนดให้ยานพาหนะทางบกทุกประเภทที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกจำเป็นต้องทำประกันภัยประเภทนี้เพื่อความคุ้มครองกับตัวบุคคลที่ได้รับจากอุบัติเหตุ โดยไม่คำนึงว่าบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุเหล่านั้นเป็นผู้ที่กระทำความผิดหรือไม่
ซึ่งกฎหมายให้ความคุ้มครองคู่กรณีและผู้เอาประกันภัย เมื่อเกิดอุบัติเหตุในรูปแบบของเงินชดเชย และค่าดูแลรักษาพยาบาลตามที่กำหนด รถทุกชนิดทุกประเภทที่เดินกำลังขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ ไฟฟ้า หรือพลังงานอื่นๆเช่น รถจักรยานยนต์ รถยนต์ รถโดยสาร รถพ่วง รถสิบล้อ จำเป็นต้องทำ พรบ.
ส่วนรถที่ได้รับการยกเว้นการทำพรบคือรถเฉพาะองค์พระมหากษัตริย์ พระราชทายาทหรือผู้สำเร็จราชการแทน รถของสำนักพระราชวังที่จดทะเบียนและมีเครื่องหมายตามพระราชวังกำหนด รถของกระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการ และรถทหาร และรถของหน่วยงานธุรการขององค์กรที่จัดขึ้นตามรัฐธรรมนูญ
หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมถึงต้องทำพรบ พ.ร.บ. คือการประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับจึงมีความจำเป็นดังนี้
- เป็นหน้าที่ของเจ้าของรถที่ต้องถือปฏิบัติตามกฎหมายกำหนด
- กฎหมายได้กำหนดให้มีส่วนร่วมในการสร้างหลักประกันต่อสังคม
- เป็นการแบ่งเบาภาระของผู้ที่ขับขี่หรือเจ้าของรถหากต้องรับผิดชอบเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
- เป็นมาตรการการลดปัญหาทางสังคมด้านหนึ่งซึ่งไม่ต้องรอการพิสูจน์ความผิด
- เป็นมาตรการบรรเทาผลร้ายต่อผู้เสียหายหากเกิดการรับผิดชอบ
- เป็นการแบ่งเบาภาระของรัฐด้านการักษาทรัพยากรมนุษย์
การทำ พ.ร.บ. ถือได้ว่าเป็นผู้ที่ได้ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย และได้รับสิทธิ์ความคุ้มครองต่อชีวิตทันที ซึ่งจะสังเกตได้จากการที่เราขับขี่รถ มักจะพบตำรวจตั้งด่านตรวจสิ่งแรกและเป็นจุดสังเกตของตำรวจคือแผ่นป้ายพรบที่ติดอยู่ในจุดที่มองเห็นได้ชัดเจนว่าหมดอายุหรือไม่ หากหมดอายุ จะต้องเสียค่าปรับเป็นเงิน 200 บาท หรือหากเป็นรถที่ใช้งานอยู่แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนเสียภาษี จะต้องเสียค่าปรับเป็นเงิน 1,000 บาท สำหรับความคุ้มครองของพรบ.จะให้ความคุ้มครองจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ไม่เกิน 50,000 บาทต่อคน
กรณีการเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวรจ่ายไม่เกิน 100,000 บาทต่อคน ซึ่งจะเห็นได้ว่าข้อดีสำหรับการทำพรบมีอยู่หลายข้อเพราะจะส่งผลดีต่อผู้ใช้รถหรือคู่กรณีด้วยกันหากเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดเดาได้เช่นเกิดอุบัติเหตุในช่วงที่ประกันรถหมดอายุแต่พรบ.ก็สามารถรองรับปัญหาที่เกิดขึ้นในระดับหนึ่งเช่นกัน
คำแนะนำเกี่ยวกับการทำประกันภัย
กรมธรรม์ภาคสมัครใจ
เป็นการ ประกันภัย รถยนต์ที่กฎหมายไม่ได้มีการบังคับให้มีการทำประกันภัย ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจ
ของผู้เอาประกันภัยที่ เล็งเห็นถึงความเสี่ยงภัยแห่งตน ณ ปัจจุบันกรมธรรม์ที่ออกสู่ท้องตลาดจะให้ความคุ้มครอง
โดยแบ่งตามประเภทของกรมธรรม์ดังต่อไปนี้
กรมธรรม์ประกันภัยประเภท 1 ให้ความคุ้มครองพื้นฐานดังต่อไปนี้
ความรับผิดต่อความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก
ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
ความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
ความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
กรมธรรม์ประกันภัย ประเภท 2 ให้ความคุ้มครองพื้นฐานดังต่อไปนี้
ความรับผิดต่อความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก
ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
ความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
กรมธรรม์ประกันภัย ประเภท 3 ให้ความคุ้มครองพื้นฐานดังต่อไปนี้
ความรับผิดต่อความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก
ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
กรมธรรม์ประกันภัย ประเภท 4 ให้ความคุ้มครองพื้นฐานดังต่อไปนี้
ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก 100,000 บาท/อุบัติเหตุแต่ละครั้ง
กรมธรรม์ประกันภัย ประเภท 5 ให้ความคุ้มครองพื้นฐานดังต่อไปนี้
ประเภท 5 (2+)
ความรับผิดต่อความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก
ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
ความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์
ความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันที่เอาประกันภัยเฉพาะกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น
ประเภท 5 (3+)
ความรับผิดต่อความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก
ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
ความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันที่เอาประกันภัยเฉพาะกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบก